ขั้นตอนการทำงาน
ขั้นตอนที่ 1
        ติดตั้งเครื่องมือเข้าศูนย์กลางของเสาเข็มเจาะ ปรับตั้งเครื่องมือเสาเข็มเจาะแบบสามขา ให้ได้ตรงตามแนวศูนย์กลางของเสาเข็ม เมื่อปรับตั้งและทำการตรวจสอบถูกต้องแล้ว จึงตอกเสาเข็มหลักยึดปรับแท่นเครื่องมือให้แน่น แล้วใช้กระเช้าเจาะนำเป็นรูลึก (PRE - BORE) ประมาณ 1.00 1.50 เมตร

ขั้นตอนที่ 2
ลงปลอกเหล็กชั่วคราว (Temporary Casing)
         
        เมื่อตั้งเครื่องมือเสาเข็มเจาะแบบสามขา (Tripod Rig) เข้าตรงตามตาแหน่งแล้ว ใช้ลูกตุ้มและตัวตัก (Bucket) เจาะนาเป็นรูแล้วตอกปลอกเหล็กที่มีความยาวประมาณ 1.20 1.40 เมตร ลงดินต่อกันด้วยระบบเกลียวจนกระทั่งถึงชั้นดินแข็งปานกลาง พอที่จะป้องกันชั้นดินอ่อนพังทลาย ในขณะลงปลอกจะทาการวัดค่าความเบี่ยงเบนแนวราบและแนวดิ่งโดยค่าความเบี่ยงเบนที่อนุญาตให้คือ
 - ความเบี่ยงเบนแนวราบ 5 ซม. สาหรับเข็มเดี่ยว
 - ความเบี่ยงเบนแนวราบ 7 ซม. สาหรับเข็มกลุ่ม
 - ความเบี่ยงเบนแนวดิ่ง 1 : 100 โดยรวม

ขั้นตอนที่ 3
การขุดดินด้วยกระเช้าเก็บดิน (Bucket)

       การขุดดินด้วยกระเช้าจะใช้กระเช้าเก็บดินชนิดที่มีลิ้นเปิด ปิด และชนิดที่ไม่มีลิ้น ในช่วงดินอ่อนจะใช้กระเช้าชนิดมีลิ้นที่ปลายเก็บดินโดยใช้น้าหนักของตัวมันเอง เมื่อกระเช้าถูกทิ้งไปในรูเจาะ ดินจะถูกอัดให้เข้าใปอยู่ในกระเช้า ทาซ้ากันเรื่อย ๆ จนดินถูกอัดเต็มกระเช้าจึงนามาเทออก การเจาะจะดาเนินไปจนกระทั่งถึงขั้นดินแข็งปานกลาง จึงเปลี่ยนมาใช้กระเช้าชนิดไม่มีลิ้นที่ปลายเก็บต่อไปจนได้ความลึกที่ต้องการ ซึ่งในเขตกรุงเทพมหานครมักจะอยู่ที่ความลึกประมาณ 18 - 21เมตร (ขึ้นอยู่กับลักษณะทางธรณีวิทยาของแต่ละพื้นที่)

ขั้นตอนที่ 4
ขั้นตอนตรวจสอบรูเจาะ ก่อนการใส่เหล็กเสริม

    - ตรวจวัดความลึก โดยวัดจากความยาวของสายสลิงรวมกับความยาวของกระเช้าตักดิน
    - ตรวจสอบก้นหลุม โดยใช้สปอร์ตไลท์ส่องดูก้นหลุมว่ามีการยุบเข้ามีน้ำซึมหรือไม่
กรณีที่มีน้ำซึมที่บริเวณก้นหลุมจะเทคอนกรีตแห้งลงไปประมาณ 50 ซม. และกระทุ้งให้แน่นด้วยตุ้มเหล็ก จากนั้นใช้ปูนทราย 1:1.5 เทลงไปประมาณ 30-50 ซม. ก่อนใส่เหล็กเสริม (ในกรณีที่มีน้ำซึมก้นหลุม)

ขั้นตอนที่ 5
การลงเหล็กเสริม ก่อนเทคอนกรีต

        5.1 ประเภทชนิดของเหล็กเสริม ส่วนเหล็กเส้นกลมตาม มอก. 20-2524( SR-24 ) ส่วนเหล็กเส้นข้ออ้อยตาม มอก.24-2524 ( SD-30 )
        5.2 ขนาดและปริมาณเหล็กเสริม โดยการต่อเหล็ก จะใช้วิธีการต่อทาบไม่น้อยกว่า 40 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางและใช้ลวดผูกเหล็กผูกบิดให้แน่น
        5.3 ขั้นตอนใส่เหล็กเสริม ให้หย่อนกรงเหล็กให้อยู่ตรงกลางของรูเจาะจนถึงระดับที่ต้องการ และยึดให้แน่นหนา เพื่อที่ขณะเทคอนกรีตกรงเหล็กจะไม่ขยับเขยื้อน

ขั้นตอนที่ 6
ขั้นตอนการเทคอนกรีต

       6.1 คอนกรีตที่ใช้จะต้องเป็นคอนกรีตผสมหน้างาน หรือคอนกรีตผสมเสร็จ ( READY MIX ) ที่มีกำลังอัดประลัยที่ 28 วัน เมื่อทดสอบโดยแท่งทรงกระบอกขนาด 15 x 30 ซม. (cylinder) ไม่น้อยกว่า 210 กก/ซม3 ซีเมนต์ที่ใช้เป็นซีเมนต์ปอร์มแลนด์ ประเภท 1 และใช้ความยุบของคอนกรีตประมาณ 8-12 ซม. เพื่อให้คอนกรีตเกิดการอัดแน่นด้วยตัวเองเมื่อเทลงรูเจาะไปแล้ว
       6.2 วิธีเทคอนกรีต เมื่อรูเจาะได้รับการตรวจสอบและอนุมัติให้เทคอนกรีตได้ จะรีบทำการเทคอนกรีตทันทีเพื่อไม่ให้รูเจาะอ่อนตัวหรือกระทบความชื้นในอากาศนานเกินไปจนสูญเสียแรงเฉือนได้ การเทคอนกรีตจะเทผ่านกรวย ปลายกรวยเป็นท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 ซม. ยาว 3.0 เมตร คอนกรีตจะหล่นลงตรง ๆ โดยไม่ปะทะผนังรูเจาะหรือกรงเหล็กจะช่วยลดการแยกตัวของคอนกรีต
      6.3 ขั้นตอน วิธีทำให้คอนกรีตแน่นมากยิ่งขึ้น เมื่อทำการเทคอนกรีตถึงระดับ 5.00 ถึง 3.00 จากระดับดินปัจจุบันจะทำการอัดลมเพื่อให้คอนกรีตอัดตัวแน่นมากขึ้น

ขั้นตอนที่ 7
ถอดปลอกเหล็กชั่วคราว

        เมื่อเทคอนกรีตให้มีระดับสูงกว่าปลอกเหล็กชั่วคราวพอสมควรแล้ว จึงจะเริ่มถอดปลอกเหล็กขึ้น โดยปกติขณะถอดปลอกเหล็กจะต้องให้มีคอนกรีตอยู่ภายในปลอกเหล็กไม่น้อยกว่า 3 เมตร เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ชั้นดินอ่อนบีบตัว ก็จะทำให้ขนาดเสาเข็มเจาะเปลี่ยนไป และเป็นการป้องกันมิให้น้ำใต้ดินไหลซึมเข้ามาในรูเจาะก่อนที่จะถอดปลอกเหล็กชั่วคราวออกหมด จะต้องเติมคอนกรีตให้มีประมาณเพียงพอและเผื่อคอนกรีตให้สูงกว่าระดับที่ต้องการประมาณ 30-75 ซม.
        ในกรณีที่หัวเสาเข็มอยู่ต่อจากระดับดินปัจจุบัน เพื่อป้องกันมิให้หัวเข็มที่ระดับที่ต้องการสกปรกเนื่องจากวัสดุหรือเศษดินร่วงหล่นลงไป ภายหลังการถอดปลอกเหล็กออกหมดแล้วนั่นเอง

ขั้นตอนที่ 8
บันทึกรายงาน หรือ REPORT เสาเข็ม
1. หมายเลขบ่งกำกับเสาเข็มแต่ละต้น
2. วันเวลาที่เจาะ ตลอดจนเวลาแล้วเสร็จ เวลาเริ่มเทคอนกรีต เวลาถอนท่อเหล็กชั่วคราวจนแล้วเสร็จ
3. ระดับดิน ระดับตัดหัวเข็ม ระดับความลึกปลายเสาเข็ม ความยาวของท่อเหล็ก ปลอกชั่วคราว
4. ความคลาดเคลื่อนของศูนย์เข็ม และระยะเบี่ยงเบนของเสาเข็มในแนวดิ่ง
5. รายละเอียดของชั้นดินที่เจาะลงไป
6. รายงานเหล็กเสริมในเสาเข็ม และปริมาณคอนกรีต
7. อุปสรรที่เกิดขึ้น หรือเหตุผิดปกติต่าง ๆ
8. ค่าวินิจฉัย สั่งการ ของเจ้าหน้าที่อาคาร , วิศวกรผู้ออกแบบ , ผู้ควบคุมงานของเสาเข็มแต่ละต้น

สาระน่ารู้

การทดสอบ เสาเข็มเจาะ
            การทดสอบความสมบูรณ์เสาเข็ม ( Seismic Integrity Test ) มีจุดประสงค์เพื่อประเมินสภาพความสมบูรณ์ตลอดความยาวของ เสาเข็ม การทดสอบวิธีนี้เป็นการทดสอบที่สะดวก , รวดเร็ว , และเสียค่าใช้จ่ายต่า จึงเหมาะสมและเป็นที่นิยมใช้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม ในขั้นต้น ( Preliminary test ) หากตรวจสอบพบสภาพบกพร่องที่เกิดขึ้น จึงกาหนดวิธีทดสอบอื่น ๆ ประกอบกับพิจารณาหรือดำเนินการซ่อมแซมแก้ไขต่อไป การทดสอบนี้สามารถดำเนินการได้ทั้งในเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงและเสาเข็มเจาะหล่อกับที่ ผลการทดสอบนนี้จะระบุถึงข้อบกพร่องต่าง ๆ อาทิเช่น รอยแตกร้าว ( Crack ) โพรงหรือช่องว่าง ( Void ) รอยคอด ( Size reduction ) หรือบวม ( Size increase ) ของเสาเข็ม เป็นต้น

เครื่องมือทดสอบ
          เครื่องมือทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มนั้นเป็นเครื่องมือที่ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อการทดสอบดังกล่าว มีขนาดเล็ก , น้ำหนักเบา และมีประสิทธิภาพสูง ประกอบด้วย
• ฆ้อนทดสอบ ( Hand-Held Hammer )
• เครื่อง Pile Integrity Tester รุ่น Collector
• หัววัดสัญญาณคลื่นความเค้น ( Accelerometer Transducer )


วิธีการทดสอบ
         การทดสอบเริ่มจากการติดตั้งหัววัดสัญญาณคลื่นความเค้น ( Acceleronmeter Transducer ) บนหัวเสาเข็มซึ่งต้องการทดสอบโดยหัวเสาเข็มที่ดี ควรจะอยู่ในสภาพที่สะอาด ไม่มีน้าขังหรือมีเศษดินปกคลุมอยู่ จากนั้นเคาะหัวเสาเข็มดังกล่าวด้วยฆ้อนทดสอบ ( Hand-Held Hammer ) คลื่นความเค้นอัด ( Compression Stress wave ) ที่เกิดจากการเคาะดังกล่าวจะวิ่งผ่านลงไปในตัวเสาเข็ม และจะสะท้อนกลับขึ้นมาเพื่อพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่หน้าตัด หรือพบการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของเนื้อคอนกรีตหรือเมื่อพบปลายเสาเข็ม คลื่นความเค้นที่สะท้อนกลับขึ้นมา ณ จุดต่าง ๆ ดังกล่าวจะถูกตรวจจับด้วยหัววัดสัญญาณข้างต้น และถูกส่งไปยังเครื่อง Pile Integrity Tester (PIT) เพื่อเปลี่ยนค่าคลื่นสัญญาณความเร่ง ( Acceleration Signal ) เป็นคลื่นสัญญาณความเร็ว ( Velocity Signal ) ก่อนแสดงผลที่หน้าจอทดสอบและบันทึกไว้ ในหน่วยความจาของเครื่องทดสอบดังกล่าว เพื่อนาไปวิเคราะห์ผลในรายละเอียดต่อไป โดยผลการทดสอบดังกล่าว จะนาไปให้วิศวกรผู้ชานาญการ เป็นผู้ประเมินเสาเข็มดังกล่าวว่าสมบรูณ์ดีหรือไม่ ก่อนจะลงมือดาเนินการทางานในขั้นตอนต่อไป

             การทดสอบ Dynamic Load Test จะใช้รถเครนหรือเครื่องมือ 3 ขาของตัวเสาเข็มเจาะเอง ยกลูกตุ้มน้าหนักปล่อยกระแทกที่หัวเสาเข็ม เพื่อทำให้เกิดคลื่นความเค้น (Stress Wave) ลงไปตลอดตัวเสาเข็มและสะท้อนกลับขึ้นมา ซึ่งค่าดังกล่าวจะถูกบันทึกโดยตัว Transducers ประกอบด้วย Strain Gauges และ Accelerometer ที่ติดใกล้กับหัวเสาเข็ม สัญญาณที่ได้จะนำไป วิเคราะห์หากำลังการรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม โดยการทดสอบวิธีนี้ เป็นการทดสอบที่มี ค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร ก่อนตัดสินใจจะทดสอบ จึงควรจะปรึกษาวิศวกรก่อน ว่ามีความจำเป็นหรือไม่ ในการทำการทดสอบด้วยวิธีการนี้

วิธีการทดสอบนี้ทั่วไปมี 2 วิธีคือ

        1. Static load Test แบบเสาเข็มสมอคือการทดสอบเสาเข็มที่ตอกเสาเข็มเป็นสมอยึดคานรับแม่แรง (Hydroulic Jack) โดยอาศัยแรงฝืดของดินเป็นตัวต้านแรงถอนตัวจากแรงที่กดลงเสาเข็มทดสอบ การตอกเข็มสมอลงบนดินควรตอกในชั้นดินเหนียวเนื่องจากจะมีความฝืดมากกว่าดินประเภทอื่นๆ
       2. Static load Test แบบวัสดุถ่วง การทดสอบของระบบจะใช้ในกรณีที่เสาเข็มเสมอใช้การไม่ได้เนื่องจากชั้นดินที่ทำการตอกเข็มสมอมีแรงฝืดไม่เพียงพอที่จะรับแรงถอนของแม่แรง (Hydroulic Jack) ดังนั้นของหันมาใช้วิธีนี้หลักการของ Static load Test แบบวัสดุถ่วง คือวางวัสดุหนัก ๆ

เว็บสำเร็จรูป
×